ใครคือ Oculoplastic Specialist หรือ Ophthalmic Plastic and Reconstructive Specialist
คำตอบ: Oculoplastic Specialist หรือ Ophthalmic Plastic and Reconstructive Specialist คือ จักษุแพทย์ เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญปํญหาโรคของเปลือกตา ท่อน้ำตา และโรคของเบ้าตา เป็นพิเศษ บางครั้งเราจะเรียกกลุ่มจักษุแพทย์เฉพาะทางเหล่านี่ทับศัพย์ว่า หมอเปลือกตา หมอท่อน้ำตา หรือ หมอเบ้าตา ตรงตามตัวได้เพื่อง่ายกับความเข้าใจ
หมอเปลือกตา ทำงานชนิดใดบ้าง
คำตอบ หมอเปลือกตา หรือ Oculoplastic Specialist จะดูแลรักษาปัญหาทุกชนิดของเปลือกตา งานที่ดูแลได้แก่ ปัญหาเปลือกตาตกหย่อน เปลือกตาม้วนเข้าใน เปลือกตาม้วนออกนอก ทั้งผู้ป่วยตั้งแต่อายุน้อยๆ จนถึงอายุมาก การผ่าตัดศัลยกรรมเปลิอกตาเพื่อความงดงามหรือเสริมสวยนั้นเป็นหนึ่งในความชำนาญเฉพาะทางของ จักษุแพทย์เฉพาะทางเปลือกตา แต่ปัญหาของประเทศไทยในขณะนี้คือมีจำนวนแพทย์เฉพาะทางในสาขานี้น้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร (ประมาณ 25-30 คน ต่อประชากร 70 ล้านคน ข้อมูล ปี 2555)
หมอท่อน้ำตา ทำงานชนิดใดบ้าง
คำตอบ หมอท่อน้ำตา (Lacrimal Man or lacrimal specialist) คือจักษุแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญปัญหาของโรดเกี่ยวกับน้ำตาและของระบบท่อน้ำตา ปัญหาต่างๆของโรคระบบท่อน้ำตาได้แก่ โรคท่อน้ำตาอุดตัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย ให้ทราบสาเหตุของการอุดตันที่แน่ชัด ก่อนให้การรักษา ปัญหาโรคท่อน้ำตาที่พบบ่อยๆ ได้แก่ โรคท่อน้ำตาอุดตันที่อาจพบได้ตั้งแต่เด็กในวัยทารก (congenital naso-lacrimal duct obstuction) และภาวะท่อน้ำตาตันในภายหลัง (acquired naso-lacrimal duct obstruction) ภาวะท่อน้ำตาอุดตันหลังได้รับอุบัติเหตุ (secondary naso-lacrimal duct obstruction) ซึ่งภาวะนี้มักจะเกิดจากผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุกระดูกใบหน้าบริเวณระหว่างโหนกแก้มและจมูกแตก ซึ่งกระดูกบริเซณนี้ืั้ที่แตกจะไปกดทับทำให้ท่อน้ำตาส่วนปลายถูกกดทับและอุดตันได้ หรืออาจจากท่อน้ำตาบริเวณส่วนต้นที่อยู่บริเวณเปลือกตาบนและล่างทางด้านในฉีกขาด
นอกจากนี้ภาวะน้ำตาไหลในลักษณะไหลเล้กน้อยหรือแฉะๆ อาจไม่ได้เกิดจากท่อน้ำตาอุดตันก็ได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากภาวะอื่นๆ ได้แก่ ภาวะตาเเห้งมากๆ (Severe dry eye) โรคต่อมน้ำตาอักเสบ (Meibomitis or posterior blepharitis) อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาระเหยเร็วเกินไปจนเกิดตาแห้งมากๆ และทำให้น้ำตาไหลได้ภาวะเยื่อบุตาหย่อนและเกิดการเสียดสีระหว่างเปลือกตาและดวงตา (Conjunctivochalasis) และทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้เกิดน้ำตาไหลได้ ภาวะต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาไหลเป็นบางครั้งบางคราว (pseudo-epiphora) และมักจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ มากและนานเกินไป การขับรถนาน การที่ดวงตาประทะแสงและลมนานเกินไป ภาวะต่างเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการประเมิน ตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียดและถูกต้องเพื่อให้หาสาเหตูที่ถูกต้องเพื่อที่จะทำการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป